DBP for Manufacturing
Digital Business Platform ในกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต
อุตสาหกรรมการผลิตเป็นหนึ่งในภาคส่วนที่หากมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ Digital Business Platform แล้วจะก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก Digital Business Platform นั้นจะสามารถช่วยให้ผู้ผลิตพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ลดต้นทุนในการดำเนินงาน และเพิ่มคุณภาพให้แก่สินค้าให้ได้ดียิ่งขึ้น
ประโยชน์ที่ได้รับจาก Digital Business Platform ในอุตสาหกรรมการผลิต
Digital Twins แบบจำลองเสมือนในโลกดิจิทัล
Digital Business Platform สามารถช่วยให้ผู้ผลิตดัดแปลงผลผลิตและกระบวนการที่มีอยู่ให้กลายเป็นแบบจำลองเสมือนในโลกดิจิทัลในการระบุคาดการณ์ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและคุณภาพของผลผลิตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
Predictive Maintenance (PdM) การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์
การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ Digital Business Platform จะชวยปรับเปลี่ยนให้เกิดประโยชน์ได้ ด้วยการใช้ระบบเซนเซอร์และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในการสังเกตุการณ์กระบวนการทำงานของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ และพิจารณาคาดการณ์การดูแลรักษาที่จำเป็นต่อเครื่องมือนั้นๆ ซึ่งนี่จะเป็นการป้องกันการเกิดเหตุเครื่องมือหรืออุปกรณ์เกิดเหตุขัดข้องกระทันหัน ช่วยลดต้นทุนในการดูแลรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์โดยรวม (OEE)
Supply Chain Optimization เพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทาน
ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบการแสดงผลแบบ real-time เข้ามาใช้ในกระบวนการสินค้าคงคลัง ตารางการผลิต และกระบวนการขนส่ง ทำให้ผู้ผลิตสามารถติดตามในทุกกระบวนการได้ตรงตามระยะเวลาจริง จึงสามารถมั่นใจได้ว่า Digital Business Platform จะช่วยให้ธุรกิจอุตสาหกรรมเพิ่มประสิทธิภาพให้กับห่วงโซ่อุปทานได้ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรลดระยะเวลาในการดำเนินการ เพิ่มความสามารถในการนำส่งสินค้าได้ทันเวลา และช่วยปรับปรุงระบบสินค้าคงคลังให้ดีขึ้นกว่าเดิม
Quality Management การบริหารจัดการคุณภาพ
การบริหารจัดการคุณภาพผลผลิตนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ Digital Business Platform สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาให้ดีขึ้นได้ ธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถใช้กระบวนการวิเคราะห์โดยระบบคอมพิเตอร์เพื่อการติดตามขั้นตอนการผลิตและระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับสินค้าในระหว่างกระบวนการณ์ ซึ่งนี้จะเป็นการช่วยลดปัญหาการใช้วัตถุดิบสิ้นเปลืองและการทำงานซ้ำ เพิ่มพูนคุณภาพให้แก่ผลผลิต และเพิ่มความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าได้ในเวลาเดียวกัน
Remote Monitoring การตรวจสอบจากทางไกล
Digital Business Platform จะช่วยให้องค์กรอุตสาหกรรมการผลิตสามารถควบคุมและติดตามกระบวนการทำงานได้จากทั่วทุกมุมโลก อันจะเป็นประโยชน์มากต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ที่ซึ่งผู้ผลิตมีความต้องการที่จะเข้าถึงและติดตามกระบวนการผลิตจากหลากหลายพื้นที่ในเวลาเดียวกัน Remote Monitoring นี้สามารถช่วยให้ผู้ผลิตระบุและทราบถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันเวลา ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และช่วยลดต้นทุนในการผลิตอีกด้วย
A-HOST DBP Solution - SMART Manufacturing Solution
นวัตกรรมและบริการที่เราพร้อมนำเสนอ
Advanced Supply Chain Planning ความสามารถในการวางแผนจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เหนือกว่า
ช่วยให้การวางแผนการจัดการของคุณง่ายดายและครบครันยิ่งขึ้นด้วยระบบการแสดงผลแบบ real-time พร้อมทั้งควบคุมห่วงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพได้อย่างครอบคลุม โดยการปรับปรุงพิจารณาจากทั้งกฏระเบียบและข้อจำกัดของคุณ เพื่อให้คุณได้รับทั้งข้อมูลชั้นสูงและข้อมูลเชิงลึก เพื่อความสามารถในการควบคุมห่วงโซ่อุปทานโดยรวมของคุณ
Warehouse Automation จัดการคลังสินค้าด้วยระบบอัตโนมัติ
ระบบการจัดการคลังสินค้าอัตโนมัตินี้ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระการควบคุมการดำเนินงานที่ต้องทำเป็นกิจวัตรซ้ำซากจำเจในการบริหารจัดการคลังสินค้า เพื่อให้คุณสามารถแบ่งเวลาเพื่อใช้ในการดูแลการจัดการผลิตในส่วนอื่นได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Industrial Internet of Things: IIoT เชื่อมต่ออย่างรวดเร็วด้วยระบบอินเทอร์เน็ต
ด้วยการมุ่งเน้นความสำคัญในด้านกระบวนการสื่อสารระหว่างเครื่องจักรกับเครื่องจักร (Machine-to-Machine Communication: M2M) การจัดการข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และการเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) IIoT จะช่วยให้อุตสาหกรรมและองค์กรสามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือที่ดียิ่งขึ้น
Manufacturing Dashboard and Analytics ระบบการวิเคราะห์และแดชบอร์ดเพื่อการผลิต
นี่คือระบบที่จะนำเสนอกระบวนการผลิตออกมาในรูปแบบ real-time และสร้างออกมาเป็น Dashboard ซึ่งจะแสดงผลทุกอย่างออกมาในรูปแบบของกราฟ ตาราง และเทคนิคอื่นๆ ในการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบรูปภาพ ที่จะทำให้เข้าใจถึงดัชนีชีวัดความสำเร็จ (Key Performance Indicator: KPI) ได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถคาดการณ์ผลการดำเนินงาน เพื่อการวางแผนรับมือสิ่งต่างๆ ในอนาคตได้ในเวลาเดียวกัน
Enterprise Asset Management: EAM การจัดการสินทรัพย์ขององค์กร
ด้วยการการผสมผสานระหว่างระบบและบริการเพื่อใช้ในการบำรุงรักษาและควบคุมทรัพย์สินและอุปกรณ์ในการดำเนินงาน โดยมีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงดูแลคุณภาพ พร้อมกับการใช้งานทั้งอุปกรณ์และทรัพย์สินต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพเวลาการทำงานที่มีประสิทธิผล และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน